วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป


ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

อาเซียน-ยุโรป มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน โดยมีสิงคโปร์เป็นตัวกลางในการก่อให้เกิดความสัมพันธ์ เนื่องจากสิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และมองว่าตนเองจะเสียผลประโยชน์จากการที่อังกฤษเจ้าอาณานิคมของตนเองจะเข้าเป็นสมาชิกอียู จึงเสนอให้อาเซียนสร้างความสัมพันธ์กับอียู

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ยุโรปเป็นความสัมพันธ์แบบข้ามขั้ว ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะกับอาเซียนที่มีนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์แบบข้ามขั้วกับหลายกลุ่มหลายภูมิภาค เนื่องจากภายในอาเซียนนั้นสามารถสร้างความร่วมมือได้ทั้งแล้วเกือบทั้งหมด (ยกเว้นติมอร์ตะวันออกที่คาดว่าน่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนในอนาคตอันใกล้)

ปี 2007 เป็นปีครอบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป 30 ปี ทำให้มีความตกลงจัดประชุมสุดยอดเพื่อฉลองการครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปี (ASEAN-EU Commemorative Summit) ภายในปีนี้ โดยยุโรปสนใจจะ การเข้าเป็นภาคี TAC หรือสนธิสัญญาไมตรีและความมั่นคงแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation) และยังคงเดินหน้าโครงการ FTA อาเซียน-ยุโรป

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูก็พัฒนามาอยู่ในกรอบที่เรียกว่า ASEM-Asia-Europe Meeting ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศบวก จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ร่วมกับประเทศอียูทั้งหมด

ความสนใจของอียูที่มีต่ออาเซียนเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอาเซียนในทศวรรษที่ 1990 และตรงนี้เป็นสาเหตุที่อียูมีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์จากความสัมพันธ์แบบผู้ให้และผู้รับมาเป็นความสัมพันธ์แบบเท่าๆกัน

อย่างไรก็ตามประเด็นที่เป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูก็คือ การที่อาเซียนรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิก ทำให้อียูประท้วงโดยการไม่เข้าร่วมเจรจาในที่ประชุมของอาเซียนในระยะหนึ่ง (การประชุม ARF) และในการประชุม ASEM เองอียูก็ไม่ให้พม่าเข้าร่วมประชุมเนื่องจากอียูมองว่าพม่ามีปัญหาประชาธิปไตยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหตุการณ์ในพม่าล่าสุดทำให้อียูออกโรงประณามการกระทำของพม่าและเรียกร้องให้อาเซียนกดดันพม่าให้มีการแก้ไขปัญหา

สำหรับความร่วมมือระหว่างอียูกับอาเซียนในปัจจุบันนอกจากมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าต่อกัน อียูยังมีเป้าหมายในการคานอำนาจกับสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ส่วนประเด็นความร่วมมือในปัจจุบันก็หันมาให้ความสนใจกับประเด็นความมั่นคงใหม่มากขึ้น ในประชุมสุดยอดอาเซ็มครั้งที่ 6 ในปี 2006 ผู้นำของอาเซ็มได้ตกลงที่จะขยายสมาชิกภาพอาเซ็มเพิ่มขึ้นคือ อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย โรมาเนีย และบัลกาเรีย แต่ในการจัดประชุมครั้งที่ 7 ในปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมประชุม โดยประเด็นที่ถกเถียงในที่ประชุมเรื่องปัญหาเศรษฐกิจโลก

กลยุทธ์ใหม่ของอียูทีมีต่ออาเซียน New Partnership with South East Asia
  1. สนับสนุนการมีเสถียรภาพส่วนภูมิภาคและการต่อต้านการก่อการร้าย
  2. สนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และ Good Governance
  3. ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ แก้ไขปัญหาผู้อพยพ การฟอกเงิน (Money Laundering) โจรสลัด (Piracy) ยาเสพติด
  4. ส่งเสริมความคิดริเริ่มที่เกี่ยวกับการค้าข้ามภูมิภาคระหว่างยุโรปกับอาเซียน (Trans - Regional EU – ASEAN Trade Initiative: TREATI)
  5. ส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่มีความมั่งคั่งน้อย (Less Prosperous Countries) หรือจริงๆแล้วคือประเทศยากจนหรือกำลังพัฒนานั่นเอง
  6. ส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือในนโยบายเฉพาะด้าน เช่น การค้า มหาดไทย เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม พลังงาน ขนส่ง เป็นต้น
ความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป 
ยุโรปกับอาเซียนได้ตกลงจะมีความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีต่อกันมาตั้วแต่ ปี 2007 ในการจัดประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ยุโรป ที่ประเทศบรูไน โดยมีกรอบในการเจรจาที่ครอบคลุมถึงการเปิดเสรีการค้า การค้าบริการและการลงทุนรวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ โดยมีการจัดตั้งกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป (Join Committee on Asian-Europe FTA) กำหนดให้มีการเจราปีละ 4 ครั้ง ครั้งล่าสุดมีการเจรจากันเป็นครั้งที่ 7 ในเดือนมีนาคม 2009 ที่มาเลเซีย แต่การประชุมไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากประเทศอาเซียนหลายประเทศไม่มีความพร้อม อียูจึงจะขอเน้นเจรจาเป็นรายประเทศที่มีความพร้อมก่อน ส่วนการประชุมของทั้งหมดจะหยุดพักเอาไว้ชั่วคราว

ประเด็นปัญหาทางการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากลัทธิอาณานิคมของชาติตะวันตกและทำให้ทุกประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่ง (ยกเว้นประเทศไทย) ชาติตะวันตกที่เข้ามาได้สร้างปัญหาตามมากมาย เช่น
  1. ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากชาติตะวันตกที่เข้ามาปกครองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยทำให้เมื่อถอนตัวออกไปหรือให้เอกราชจึงยัดเยียดการปกครองแบบประชาธิปไตยให้กับดินแดนอาณานิคม ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็รีบหยิบฉวยเอาการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้โดยหวังว่าจะทำให้ประเทศตนเองมีความเท่าเทียมกับเจ้าอาณานิคม แต่เมื่อนำมาใช้กลับมีปัญหามากมาย เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดแบบประชาธิปไตย ทำให้ในปัจจุบันทุกประเทศมีปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่ง 4 ประเทศนี้จะมีทหารเข้ามามีบทบาททาวการเมืองโดยตลอด แม้กระทั่งมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่แท้จริงแล้วสิงคโปร์ก็เป็นเผด็จการแบบรัฐสภา ส่วนมาเลเซียก็ไม่ได้สร้างความเท่าเทียมกันในทางการเมืองให้กับคนในประเทศ
  2. ปัญหาคอรับชั่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่พบกับปัญหาการคอรับชั่นและความไม่มีประสิทธิภาพในระบบราชการ เนื่องจากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในภูมิภาคทำให้คนในสังคมเห็นแก่พวกพ้อง
  3. ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค ความขัดแย้งครั้งสำคัญของภูมิภาคนี้มีอยู่หลายครั้งต่ครั้งที่สำคัญคือ สงครามเวียดนามและสงครามกัมพูชา

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาแน่นดีมาก..... (แน่นไปนะ) เพิ่มรูปภาพอาจช่วยได้
    การแสดงความคิดเห็นของตนเอง ยังไม่มีนะครับ

    ตอบลบ