วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน


ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
-
สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน

        

                             การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน


ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย

ปฏิญญากรุงเทพฯ



พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน    
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   
วัตถุประสงค์หลัก
                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
          และองค์การระหว่างประเทศ
                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  

”One Vision, One Identity, One Community”


    ธงอาเซียน      


                                                                          คำขวัญ
 ”One Vision, One Identity, One Community”
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


 
สัญลักษณ์อาเซียน 
“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า 
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 
กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ
อาเซียนเปิดตัวตราสัญลักษณ์การเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียนในระดับภูมิภาค 19 กุมภาพันธ์ 2550
 เพลงอาเซียน
      

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

                                                            ราชอาณาจักรไทย   Thailand 

     •     ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
     •     ประกอบด้วยประชาชนเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่า   ต่าง ๆ
     •     ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม”
     •     เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรป

ข้อมูลทั่วไป 

พื้นที่                 :       514,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง         :       กรุงเทพมหานคร
ประชากร           :       ประมาณ 65 ล้านคน
ภาษาราชการ     :      ภาษาไทย
ศาสนา              :       พุทธ (95%) อิสลาม คริสต์ ฯลฯ (5%)
พระมหากษัตริย์   :      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ฯ
นายกรัฐมนตรี     :       อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ
รมว.กต.             :       กษิต ภิรมย์
วันชาติ              :       5 ธันวาคม
ข้อมูลเศรษฐกิจ  :       GDP      559.5 พันล้าน USD
                                GDP Per Capita           8,000 USD
                                Real GDP Growth       ร้อยละ 4.7
ทรัพยากรสำคัญ      :    ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมหลัก     :    อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์
สกุลเงิน                 :    บาท
อัตราเงินเฟ้อ          :    ร้อยละ 5.5
สินค้านำเข้าที่สำคัญ      : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยานพาหนะและอุปกรณ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ      :       น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ             
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ        :      อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป
ตลาดส่งออกที่สำคัญ       :      อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA) 
•  เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก
•  ทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ สัตว์น้ำ)
•  เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย
•  มีบทบาทสูงในกลุ่ม NAM และ OIC
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                 5,193,250 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง        กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร           245.5 ล้านคน 
ภาษาราชการ   อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา             อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%) 
พื้นที่                5,193,250 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง        กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร          245.5 ล้านคน 
ภาษาราชการ    อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา            อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%) 
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                    432.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 
GDP Per Capita          1,946 ดอลลาร์สหรัฐ 
Real GDP Growth       ร้อยละ 6.3 
ทรัพยากรสำคัญ            น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ
อุตสาหกรรมหลัก           น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่
สกุลเงิน                       รูเปียห์ 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ      11.85 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ     น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ     สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ 
ตลาดส่งออกที่สำคัญ    EU ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์

  
     สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
•   ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง
•   ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
•   เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน
•   ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยกดินแดนภาคใต้
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที                     298,170 ตร. กม.
เมืองหลวง             กรุงมะนิลา
ประชากร               91 ล้านคน
ภาษาราชการ       Filipino และอังกฤษ
ศาสนา                โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%)
ประธานาธิบดี       นางกลอเรีย แมคคาปากอล อาร์โรโย (Ms.Gloria Macapagal Arroyo)
วันชาติ                  12 มิถุนายน
รอง ปธน.                    นายโนลี เดอ คาสโตร  (Mr,Noli de Castro)
รมว. กต.                     นายอัลเบอร์โต โรมูโล  (Mr.Alberto Romulo)
วันสถาปนา คสพ.   ทางการทูตกับไทย 14 มิถุนายน 2492
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                             142.3 พันล้าน USD
GDP Per Capita           1,563.73 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 4.4-4.9
ทรัพยากรสำคัญ            สินแร่โลหะ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดงและทองคำ
อุตสาหกรรมหลัก           เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป
สกุลเงิน                       เปโซ
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 9-11
สินค้านำเข้าที่สำคัญ     ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล  เหล็ก ยานพาหนะ และพลาสติก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลเสื้อผ้าสำเร็จรูป และยานพาหนะ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ     สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ    สหรัฐ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
  
      มาเลเซีย (MALAYSIA)
     • มุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน ค.ศ. 2020 (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึง ค.ศ. 2057
• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
• ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
• ในปี ค.ศ. 2007 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็น คู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                       329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง               กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร                  27.73 ล้านคน
ภาษาราชการ           มาเลย์
ศาสนา                    อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%)
วันชาติ                    31 สิงหาคม
นายกรัฐมนตรี          ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี
                            (Dato’ Seri Abdullah Ahmad Badawi)
รมว.กต.                 ดาโต๊ะ ซรี อูตามา ดร. ราอิส ยาติม   
                            (Datuk Seri Utama Dr. Rais Yatim)
รมช.กต.                ดาโต๊ะ อับดุล ราฮิม บาครี             
                            (Datuk Abdul Rahim Bakri)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
สกุลเงิน                          ริงกิต
GDP                              53.55 พันล้าน USD
GDP Per Capita             1,931.2 USD
Real GDP Growth          ร้อยละ 6.3
ทรัพยากรสำคัญ               ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก
อุตสาหกรรมหลัก              อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
อัตราเงินเฟ้อ                    ร้อยละ 6.0
สินค้านำเข้าที่สำคัญ     ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ  อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ   สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง

                                          สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE ) 
 • มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
• เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย
• เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทยในการเข้าถึงและขยายโอกาการค้าและการลงทุน
• มีระบบการศึกษาและการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่อง
• มีรัฐบาลที่สะอาด มีการฉ้อราษฎรบังหลวงน้อย
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                             699.4 ตร. กม.
เมืองหลวง                     สิงคโปร์
ประชากร                       4.6 ล้านคน
ภาษาราชการ                อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬ
ศาสนา                         พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (25%)
ประธานาธิบดี               นายเอส อาร์ นาธาน
นายกรัฐมนตรี               นายลี เซียน ลุง
รมว. กต.                      นายจอร์จ เยียว
วันชาติ                       9 สิงหาคม
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 20 กันยายน 2508
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                    147,542 ล้าน USD
GDP Per Capita           32,074 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 7.7
ทรัพยากรสำคัญ          ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี
อุตสาหกรรมหลัก       การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่ง และโทรคมนาคม การเงิน และการธนาคาร และการบริการอื่นๆ
สกุลเงิน                         ดอลลาร์สิงคโปร
อัตราเงินเฟ้อ                  ร้อยละ 2.1
สินค้านำเข้าที่สำคัญ       เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ      เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ       มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ      มาเลเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป

                                             บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM) 
• ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว 
• มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 
• มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน 
• มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism 
• เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                              5,765 ตาราง กม.
เมืองหลวง                      บันดาร์ เสรี เบกาวัน 
ประชากร                        381,371 คน
ภาษาราชการ                 มาเลย์ (Malay) 
ศาสนา                          อิสลาม (67%) พุทธ (13%)
                                    คริสต์ (10%) และฮินดู 
ประมุข/นรม./รมว.กห./กค.  
H.M. Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah
รมว. กต.                                   H.R.H. Prince Muda Haji Mohamed Bolkiah
วันชาติ                                    23 กุมภาพันธ์
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 1 มกราคม พ.ศ.2527
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                         13.54 พันล้าน USD 
GDP per capita          35,496 USD 
GDP Growth ร้อยละ    1.6 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ     0.3 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ     เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าเกษตร อาทิ        ข้าวและผลไม้
สกุลเงิน                   ดอลลาร์บรูไน
ทรัพยากรสำคัญ         น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมหลัก                   น้ำมัน อาหาร (สินค้าเกษตรและประมง)  และเสื้อผ้า
ตลาดส่งออกที่สำคัญ              ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ   อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
                        สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) 
• เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค
• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ
• ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก
• ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2563จ
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                                        331,690 ตร.กม.
เมืองหลวง                                กรุงฮานอย
ประชากร                                   87 ล้านคน
ภาษาราชการ                             เวียดนาม
ศาสนา                                      พุทธ (มหายาน)
ประธานาธิบดี                            นายเหวียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) 
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์        นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)
นายกรัฐมนตรี                            นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung) 
รัฐมนตรีต่างประเทศ                  นายฝ่าม ซา เคียม (Pham Gia Khiem)
วันชาติ                                    2 กันยายน
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 6 สิงหาคม 2519
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                    73.5 พันล้าน USD
GDP Per Capita           835 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 6.52
ทรัพยากรสำคัญ          น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่บ๊อกไซต์
อุตสาหกรรมหลัก       อาหาร สิ่งทอ รองเท้า เหมืองแร่ ปูนซีเมนต์
สกุลเงิน                  ด่ง
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 22.14
สินค้านำเข้าที่สำคัญ    วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สินค้าส่งออกที่สำคัญ              น้ำมันดิบ เสื้อผ้า และสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ  ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป

                                                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
                                              (LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC) 
• เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
• สามารถเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว
• เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สาม ในอนุภูมิภาค
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่              236,800 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง     นครหลวงเวียงจันทน์ 
ประชากร      ประมาณ 6 ล้านคน 
ภาษาราชการ  ภาษาลาว
ศาสนา           พุทธ (75%) นับถือผี (16-17%)
วันชาติ          2 ธันวาคม
ประธานประเทศ         พลโทจูมมะลี ไชยะสอน 
(Choummaly SAYASONE)
นายกรัฐมนตรี             นายบัวสอน บุบผาวัน 
(Bouasone BOUPHAVANH)
รอง นรม./รมว.กต.      นายทองลุน สีสุลิด 
(Thongloun SISOULITH)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                     3.94 พันล้าน USD 
GDP Per Capita            678 USD
Real GDP Growth        ร้อยละ 7.6
สกุลเงิน                        กีบ
อัตราเงินเฟ้อ                  ร้อยละ 4.4
ทรัพยากรสำคัญ            ไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
อุตสาหกรรมหลัก            โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ       รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่ออุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกที่สำคัญ     ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ      ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ตลาดส่งออกที่สำคัญ     ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์



                                                 สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR) 
 •     สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย
•     สหภาพพม่าเป็น “critical factor” ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ความมั่นคงบริเวณชายแดน ฯลฯ
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                          657,740 ตร.กม.
เมืองหลวง                  เนปิดอว์
ประชากร                    55.4 ล้าน
ภาษาราชการ              พม่า
ประมุข                       พลเอกอาวุโส ตาน ฉ?วย  
นายกรัฐมนตรี             พลเอก เต็ง เส?ง
รัฐมนตรีต่างประเทศ   นายญาณ วิน
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                            9.3 พันล้าน USD
GDP Per Capita   97 USD
สกุลเงิน                                  จ๊าต
อัตราเงินเฟ้อ                           ร้อยละ 30
สินค้านำเข้าที่สำคัญ                เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
สินค้าส่งออกที่สำคัญ               ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ                จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ              ไทย อินเดีย จีน
Real GDP Growth       ร้อยละ 3.5
ทรัพยากรสำคัญ                   ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ
อุตสาหกรรมหลัก                 เกษตร สิ่งทอ และสินค้าอุปโภคบริโภค
ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหภาพพม่า[1] (อังกฤษ: Union of Myanmar;) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติแต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า/เมียนมา ส่วนสื่อไทยมักสะกดว่า เมียนมาร์

                                 ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) 

 • มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”
•  เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้าและแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทาง ยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
•  เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่างไทย กับลาวและเวียดนามตอนใต้
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่                                     181,035 ตร.กม.
เมืองหลวง                            พนมเปญ 
ประชากร                               14.45 ล้านคน
ภาษาราชการ                         เขมร
กษัตริย์                                 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
ประธานสภาแห่งชาติ              สมเด็จอัคคมหาพญาจักรีเฮง สัมริน
นายกรัฐมนตรี                        สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซนวัน
รัฐมนตรีต่างประเทศ               นายฮอร์ นัมฮง 
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                       8.63 พันล้าน USD2
GDP per capita            1,800 USD4
GDP Growth ร้อยละ    ร้อยละ 10.33
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ    ร้อยละ 18.7
สินค้าส่งออกที่สำคัญ              เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่และข้าว
สินค้านำเข้าที่สำคัญ              ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนt และเครื่องใช้ไฟฟ้า 
สกุลเงิน                                เรียล (Riel) 4,006 เรียล (Riel) 
อุตสาหกรรมหลัก                    สิ่งทอ สินค้าเกษตรแปรรูป การท่องเที่ยว
ตลาดส่งออกที่สำคัญ              สหรัฐฯ (66.6%) เยอรมนี (9.6%) สหราชอาณาจักร (5.5%) แคนาดา (4%) เวียดนาม (2.7%)
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ               จีน (18.1%) ฮ่องกง (16.8%) เวียดนาม (12.3%) ไทย (12.2%) ไต้หวัน (10.9%)
กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาวทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ